เคยสงสัยมั๊ยครับ ที่ว่าลงทุนหุ้นระยะยาวแล้วความเสี่ยงจะลดลง
แล้วต้องยาวแค่ไหนถึงจะพออุ่นใจ… ว่าจะไม่ขาดทุน ?
คำถามนี้เป็นคำถามทำนายอนาคต ไม่มีใครบอกได้ชัวร์ 100% หรอกครับ
แต่ผมจะขอพาไปเรียนรู้จากอดีตแทน แนวคิดก็คือ ถ้าอดีตมันซ้ำรอยเดิม หรือใกล้เคียงเดิม
ข้อมูลตาม Infographic นี้คือสิ่งที่นักลงทุนหุ้นอาจต้องเจอครับ
ภาพนี้แสดง “พิสัย” หรือ “Range” ของผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหุ้นไทย
โดยสมมติว่าเรากระจายซื้อหุ้นทั้งตลาดหุ้น ไม่ใช่แค่หุ้นไม่กี่ตัว
ซึ่งในทางปฏิบัติก็คือ การลงทุนผ่านกองทุนที่เลียนแบบดัชนีนั่นเอง
พิสัยจะบอกถึง ผลตอบแทน “ค่าสูงสุด” และ “ค่าต่ำสุด” พร้อมผลตอบแทน “ค่าเฉลี่ย” ที่เคยเกิดขึ้นจริง
ในอดีตช่วงปี 1976-2013 (หรือตั้งแต่เปิดตลาดหุ้นไทย)
และผมได้คำนวณ “โอกาสที่จะลงทุนแล้วขาดทุน” ให้ดูประกอบไปด้วย
สาระสำคัญใน Infographic นี้ก็คือ
ยิ่งเพิ่มระยะเวลาการลงทุนในหุ้นให้ยาวขึ้น จะเกิดปรากฎการณ์คือ
1) โอกาสที่จะลงทุนแล้วขาดทุนจะลดลง
2) โอกาสที่จะได้ผลตอบแทนสูงมากๆ ก็จะลดลง
3) โอกาสที่จะได้ผลตอบแทนต่ำมากๆ ก็จะลดลงด้วยเช่นกัน
ผมจะพาอ่านกราฟเพื่อทำความเข้าใจไปด้วยกันนะครับ
ในกราฟแท่งที่ระบุว่า “ลงทุนเป็นเวลา 1 ปี” นั้น หมายถึงการซื้อหุ้นวันนี้ และในอีก 1 ปีข้างหน้าก็ขายหุ้นทิ้ง
จะพบว่าในอดีตที่ผ่านมา ถ้าเราลงทุนแบบนี้
ถ้าโชคดีจะมีโอกาสได้กำไรสูงสุดถึง 132.1%
แต่ถ้าโชคร้าย ก็อาจขาดทุนได้สูงสุดถึง -52.5%
และถ้าทำแบบนี้ซ้ำๆ กันหลายๆ ครั้ง จะมีโอกาสถึง 37 ใน 100 ครั้งที่เราจะลงทุนแล้วขาดทุน!
กราฟแท่งอื่นๆ ก็มีวิธีอ่านเหมือนกันครับ เช่น
ในกราฟแท่งที่ระบุว่า “ลงทุนเป็นเวลา 20 ปี” นั้น ก็คือการซื้อแล้วถือ 20 ปีแล้วขายเลย
จะพบว่ามีโอกาสได้กำไรสูงสุดถึง 20.8% ต่อปี แต่ถ้ากรณีเลวร้ายก็ไม่ถึงกับขาดทุน แต่จะได้กำไรแค่ 1.7% ต่อปี
ที่น่าสนใจคือ จะมีโอกาส 0 ครั้งใน 100 ครั้งที่ลงทุนแล้วจะขาดทุน
แปลก็คือ ในอดีตที่ผ่านมา
“การลงทุน 20 ปีในหุ้นไทย ไม่เคยมีผลขาดทุน!”
กลับมาที่คำถามที่ถามไว้ตอนต้น ว่า “ลงทุนยาวเท่าไรถึงจะอุ่นใจได้ว่าไม่ขาดทุน ?”
คำตอบคงต้องอยู่ที่แต่ละท่านตีความข้อมูลใน Infographic นี้
แต่ในความเห็นของผม สำหรับผู้ออมเงินทั่วไป โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือน
ผมคิดว่า “15 ปีขึ้นไป” คือคำตอบที่ผม “มั่นใจ” ครับ
ที่ผมคิดว่า 15 ปี ก็พอจะมั่นใจได้ ก็เพราะจากข้อมูลในกราฟการลงทุน 15 ปีนั้น
แม้จะยัง มีโอกาสขาดทุนมากที่สุดที่ -5.7%
แต่ลองดูที่โอกาสขาดทุนนะครับ จะอยู่ที่เพียง “8 ใน 100 ครั้ง” เท่านั้นเอง
ซึ่งสำหรับมนุษย์เงินเดือนนั้น เราจะลงทุนหลายร้อยครั้งอยู่ครับ
เพราะปีหนึ่งๆ เราก็จะมีการลงทุนอย่างน้อยก็ 12 ครั้ง (12 เดือน)
ถ้าลงทุน 10 ปี ก็จะมีการลงทุนย่อยๆ 120 ครั้ง
ถ้าลงทุน 20 ปี ก็จะมีการลงทุนย่อยๆ 240 ครั้ง
ถ้าลงทุน 30 ปี ก็จะมีการลงทุนย่อยๆ ถึง 360 ครั้ง
ซึ่งถ้าโอกาสการขาดทุนอยู่ที่เพียง 8 ใน 100 ครั้ง
ก็จะมีเงินเพียงไม่กี่ก้อนเท่านั้นที่ลงทุนไปแล้วจะขาดทุนในอีก 15 ปีข้างหน้า
และกรณีที่ขาดทุนก็ขาดทุนสูงสุดเพียง 5-6%
ดังนั้น “เงินก้อนที่กำไรจะเยอะกว่ามาก และเพียงพอที่จะชดเชยผลขาดทุนของเงินไม่กี่ก้อนนั้นได้แน่ๆ”
เพราะต้องอย่าลืมนะครับ เวลาที่เราขาดทุน เราขาดทุนเต็มที่ได้แค่เงินต้น คือ ขาดทุนได้ 100%
แต่ถ้ากำไร เช่น กำไรที่ค่าเฉลี่ยของการลงทุน 15 ปี คือ 10% ต่อปี
ถ้าทบต้นไป 15 ปีนี่ เงิน 100 บาทจะโตเป็น 418 บาทเลย
และผมว่ากำไร 318 บาท น่าจะพอชดเชยผลขาดทุนได้อยู่ครับ
นี่ก็เป็นแค่ความเห็นส่วนตัวนะครับ ถ้าจะประเมินแบบระมัดระวัง (Conservative) กว่านั้น
จะลงทุน 20 ปี หรือ 25 ปีขึ้นไปก็ยิ่งจะรัดกุมขึ้นครับ
ข้อมูลนี้เอาไปใช้อะไรได้ ?
ข้อมูลนี้มันบอกว่า ถ้าท่านยังมีเวลาลงทุนที่ยาวพอการจะมีการลงทุนในหุ้นบ้าง ก็ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวอย่างที่คิด
ถ้าท่านเป็นพนักงานเอกชนแล้วมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กองทุนของท่านเป็น Employee’s Choice ที่ท่านสามารถเลือกแผนการลงทุนได้เองรึยัง ?
แล้วท่านเลือกอะไร ? น่าเพิ่มสัดส่วนหุ้นเข้าไปหน่อยหรือไม่ ?
ถ้าท่านเป็นข้าราชการ ซึ่งลงทุนผ่าน กบข.
ท่านรู้หรือไม่ว่า ท่านสามารถเปลี่ยนแผนการลงทุนได้ แล้วท่านเลือกแผนอะไร ?
ถ้าท่านไม่มีสวัสดิการอะไร แต่เก็บออมเงิน ลงทุนเอง
ผ่าน LTF, RMF, กองทุนเปิดทั่วไป, ช่องทางการออมอื่นๆ ท่านคิดว่า ควรจะมีหุ้นเพิ่มหน่อยมั๊ย ?
การเพิ่มหุ้นเข้าไปนิดหน่อยในพอร์ตการลงทุนของท่าน
ดอกผลที่เพิ่มขึ้นนิดนึงนั้น ในระยะยาวจะมีผลอย่างมาก ต่อความเป็นอยู่ในวัยเกษียณนะครับ
“ถ้าท่านเลือกไม่เสี่ยงวันนี้ ท่านอาจจะเสี่ยงมีไม่พอใช้วันหน้า”
แต่ถ้าท่านเลือกจะเสี่ยงวันนี้ ท่านก็ต้องเข้าใจความเสี่ยง และรู้วิธีจัดการกับมัน
ซึ่งก็ค่อยๆ เรียนรู้ไปด้วยกันได้ที่นี้ครับ
การลงทุนนั้น ไม่ต้องรู้ “เรื่องยากๆ” มากเกินไปก็ได้ ลงทุนแบบโง่ๆ ง่ายๆ
“Keep it Simple and Stupid” ก็อาจได้ผลดีเหมือนกัน ^ ^
ข้อควรระวัง
1) อดีตนั้นอาจไม่ซ้ำรอยก็เป็นไปได้นะครับ
2) นี่เป็นข้อมูลของการลงทุนกระจายในหุ้นหลายตัว ไม่สามารถบอกได้นะครับ
ว่าถ้าถือหุ้นตัวเดียวระยะยาวๆ แล้วจะไม่ขาดทุน เพราะหุ้นบางตัว ถือไปไม่กี่ปีก็ล้มละลายก็มีครับ
ช่องทางศึกษาเพิ่มเติม
ฟังผมอธิบายกราฟนี้อย่างละเอียดที่นี่
http://www.a-academy.net/finance/personal-finance/08-stock-for-the-long-run
ทดลองวางแผนว่าดอกผลที่เพิ่มขึ้นเพียงนิดหน่อย ในระยะยาวนั้นจะมีผลขนาดไหนได้ที่นี่
http://www.a-academy.net/personal-finance/s06-investment-planning
(มีไฟล์ Excel ให้ลองวางแผนตาม ในบทเรียน ตอนที่ 4-6)
[…] : http://www.a-academy.net/blog/stock-risk-vs-time-horizon/#sthash.41VPienz.dpbs This entry was posted in News. Bookmark the […]
[…] (ขอบคุณรูปประกอบจากเวป A-Academy) อ่านเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจ http://www.a-academy.net/blog/stock-risk-vs-time-horizon […]
ตรงตารางที่บอกว่าค่าสูงสุดกับค่าต่ำสุดตรงนี้ก็เป็นค่าแบบทบต้นใช้หรือไม่ครับ ขอบคุณครับ
[…] อีกตั้ง 30-35 ปี จะเกษียณ ลงหุ้นได้ ยาวขนาดนั้น หุ้นไม่น่ากลัว http://www.a-academy.net/blog/stock-risk-vs-time-horizon/ […]
หุ้นเป็นเพียงคำสั้นๆที่ติดอยู่ในหัวของใครหลายคนตั้งแต่สมัยจบใหม่ๆ และไม่ว่าจะจากในละครหรือจากคำบอกเล่าของญาติผู้ใหญ่ ทุกคนล้วนแต่สื่อให้พวกผมจินตนาการและมองตลาดหุ้นไปในแง่ สนามธุรกิจของผ็ชอบความเสี่ยง รูปแบบการทำเงินของคนรวยมีฐานะ ซึ่งดูยากที่เราจะเข้าไปสัมผัสถึง
หลายคนอาจจะสงสัยและอยากรู้ว่า หุ้น คืออะไร คือหลักทรัพย์ที่ผู้ครอบครองถือไว้ เพื่อแสดงถึงความมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น เมื่อคุณเห็นว่าบริษัทผลิตบะหมี่หยกยี่ห้อหนึ่งกิจการกำลังรุ่งเรื่องและคุณอยากร่วมเป็นเจ้าของคุณก็แค่ซื้อหุ้นของบริษัทนั้นมาเก็บไว้ เท่านี้คุณก็มีสิทธิ์มีส่วนความเป็นเจ้าของในบริษัทนั้นแล้ว โดยราคาหุ้นจะขึ้นหรือลงก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย และสภาวะตลาด
ประเภทของการซื้อขายหุ้นที่มีการเปิดให้ซื้อ-ขาย
หุ้นหรือหลักทรัพย์มีอยู่หลายประเภท แต่ในที่นี้จะอธิบาย 6 ประเภท เบื้องต้นที่วรรู้จักดังนี้
1. หุ้นสามัญ (Common Stock) เป็นหุ้นทั่งไปที่นักลงทุนซื้อ-ขายกันในตลาดโดยที่ผู้ซื้อมีสิทธิมีส่วนในการเป็นเจ้าของธุรกิจนั้น ซึ่งในส่วนสิทธิที่จะได้รับ เช่น สิทธิในการได้รับเงินปันผล สิทธิในการร่วมลงคะแนนเสียงตัดสินปัญหาสำคัญในที่ประชุมผู้ถือหุ้นหรือสิทธิในการจองซื้อหุ้นใหม่ในกรณีที่มีการจดทะเบียนเพิ่มหุ้น
2. หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) เป็นหุ้นที่มีข้อแตกต่างจากหุ้นสามัญ คือ ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิมีสิทธิในการได้ชำระเงินทุนคืนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญในกรณีที่บริษัทมีการเลิกกิจการ หุ้นประเภทนี้มีกไม่ค่อยมีให้ซื้อขายในตลาด จึงถือเป็นหุ้นที่มีสภาพคล่องต่ำ เช่น หุ้น PCAP-P และ KTB-P
3. หุ้นกู้ (Debenture) เป็นหุ้นที่บริษัทออกมาเพื่อใช้ในการกู้เงินระยะยาวจากผู้ลงทุน โดยตกลงว่าจะจ่ายผลตอบแทนเป็นอัตราดอกเบี้ยให้แก่ผู้ถือตามระยะเวลาและอัตราที่กำหนด ซึ่งหุ้นประเภทนี้จะได้รับเงินต้นคือทั้งหมดเมื่อถึงเวลาสิ้นสุดสัญญา
4. หุ้นกู้แปลงสะภาพ (Convertible Debenture) จะคล้ายกับหุ้นกู้ แต่จะมีสิทธิในการแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ในช้วงระยะเวลาที่กำหนดโดยจะระบุอัตราและราคาการแปลงสภาพ หุ้นประเภทนี้มักมีการซื้อง่ายขายคล่องมากในช่วงเศรษฐกิจดี เพราะผู้ซื้อหุ้นคาดหวังผลตอบแทนจากราคาหุ้นเมื่อนำไปแปลงสภาพแล้ว
5. ใบสำคัญการแสดงสิทธิ (Warrant) เป็นตราสารที่ออกให้ผู้ถือหุ้นแสดงถึงสิทธิในการจองซื้อหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หรือ หุ้นกู้ได้ โดยต้องจ่ายเงินเพิ่ม ซึ่ง Warrant แต่ละตัวจะกำหนดราคาใช้สิทธิในการแปลงกับวันที่ที่สามารถใช้สิทธิเอาไว้แล้ว
6. หน่วยลงหุ้น (Unit Trust) เป็นตราสารที่ออกโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทันรวม (บลจ.) เปรียบเสมือนการระดมเงินทุนจากประชาชน โดย บลจ. จะเป็นผู้ดูแลกองทุนให้และจำนำเงินกำไรที่ได้มาเฉลียเป็นผลตอบแทนให้กับผู้ถือหน่วยลงทุน
จากที่ผู้เขียนได้กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นการยกตัวอย่างและอธิบายถึงความหมายและสิทธิประโยชน์ที่ผู้ซื้อ-ขายจะได้รับและการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับประเภทต่างๆและกล้าตัดสินใจในการลงทุนพร้อมจะได้รับผลกำไรกลับคืนมาหาตัวเราเอง
สนับสนุนโดย ดูหนังออนไลน์