งบกระแสเงินสดส่วนบุคคล

สรุปเนื้อหา

  • งบกระแสเงินสดส่วนบุคคลคืออะไร
  • ประโยชน์ของงบกระแสเงินสดส่วนบุคคล
  • องค์ประกอบของงบกระแสเงินสดส่วนบุคคล
  • ตัวอย่าง

ไฟล์/เอกสารประกอบ

วันที่เผยแพร่

  • 3 เมษายน 2557

3 COMMENTS

  1. ขอเพิ่มเติมจากประสบการณ์นะครับ เผื่อจะได้แง่คิด

    ประเทศไทยมีคณะวิจัยสังคมคณะหนึ่ง ได้ทำการวิจัยถึงสาเหตุของความยากจนของชาวบ้านแห่งหนึ่ง จ.แม่ฮ่องสอน
    ผลการวิจัยสรุปว่า สาเหตุที่ทำให้ชาวบ้านยากจน เกิดจากคำว่า “ เครดิต “
    ความหมายของคำว่า เครดิต อาจหมายถึง การไปเอาทรัพย์สินหรือสิ่งของหรือบริการของผู้อื่นมาใช้ก่อน แล้วสัญญาว่าจะชำระหนี้ให้ในภายหลัง เช่น เงินกู้สหกรณ์, เงินกู้ธนาคาร, เงินกู้อื่นๆ ทั้งในระบบและนอกระบบ, ซื้อสินค้าหรือบริการด้วยเงินผ่อน/เงินกู้ยืม/บัตรเครดิต
    ชาวบ้านแห่งนั้น ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม มีความอยากได้/อยากมีเช่นเดียวกับคนในสังคมเมือง พวกเขาอยากมีทั้งรถยนต์, จักรยาน, จักรยานยนต์, หม้อหุงข้าวไฟฟ้า, พัดลม, ตู้เย็น, โทรทัศน์, เสื้อผ้า, รองเท้า, เครื่องสำอางค์, เครื่องจักรกลการเกษตร ฯลฯ
    วันใดขายผลผลิตได้เงินก็จะนำเงินไปซื้อหาสิ่งของมาใช้สอย แต่การทำเกษตรไม่ได้มีรายได้ทุกวัน นานๆ จึงจะมีรายได้สักครั้ง พ่อค้าแม่ค้าอยากได้เงินจากชาวบ้านแต่ชาวบ้านยังไม่มีเงินจ่าย จึงเกิดการให้ซื้อสินค้าด้วยเงินผ่อนขึ้น ส่วนชาวบ้านก็คิดว่าตนน่าจะผ่อนชำระได้ โดยคาดการณ์ว่าผลผลิตที่จะเกิดจากการทำเกษตรน่าจะได้ปริมาณเท่าใด จะขายได้เงินเท่าใด จะผ่อนชำระเท่าใด อย่างไร?
    แต่คนคำนวณไม่สู้ฟ้าลิขิต อาจจะมีเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้เสมอ เช่น ฝนตกน้อย, น้ำท่วม, ราคาพืชผลตกต่ำ, โรคและแมลงรบกวน, ผลผลิตต่ำ เป็นต้น รายได้จึงไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เมื่อไม่มีเงินจ่ายพ่อค้า จะทำอย่างไรดี ครั้นจะไม่จ่ายให้ เดี๋ยวจะกลายเป็นคนโกงคนไม่ดีของสังคมไป จะถูกนินทาให้ร้ายอับอายคนอื่นได้
    บังเอิญในหมู่บ้านแห่งนั้นมีการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ประจำหมู่บ้านเกิดขึ้น เหมือนมีฟ้ามาโปรดจริงๆ ชาวบ้านจึงไปกู้เงินสหกรณ์มาชำระหนี้แก่พ่อค้า
    เงินที่จะชำระหนี้แก่พ่อค้ายังไม่มีเลย แต่กลับไปกู้เงินสหกรณ์ออมทรัพย์มาแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าแทน สมมติว่าเป็นหนี้พ่อค้า 10,000 บาท จึงขอกู้เงินสหกรณ์ออมทรัพย์อย่างต่ำ 10,000 บาทมาชำระหนี้ เมื่อถึงกำหนดชำระหนี้คืนแก่สหกรณ์ออมทรัพย์ เงินกู้จากสหกรณ์ออมทรัพย์ไม่ได้มีแต่เงินต้นที่กู้ไปเท่านั้น ยังมีภาระดอกเบี้ยที่จะต้องจ่ายด้วย เมื่อเวลาผ่านไปจากที่เป็นหนี้เงินกู้ 10,000 บาท เมื่อรวมดอกเบี้ยด้วย เงินที่เป็นหนี้ก็จะสูงขึ้น สมมติว่าดอกเบี้ย 1,000 บาท จึงรวมเป็นหนี้ทั้งหมด 11,000 บาท
    เงินเป็นหนี้ 10,000 บาทยังไม่มีจ่าย แต่กลับมีหนี้เพิ่มขึ้นเป็น 11,000 บาท แล้วจะทำอย่างไร ?
    ชาวบ้านจำเป็นต้องหาทางแก้ไขอื่นอีก มีที่ไหนบ้างที่จะมีเงินให้กู้ยืมเพื่อนำเงินมาแก้ไขปัญหาอีก แล้วชาวบ้านก็พบแหล่งเงินกู้แห่งใหม่ มีทั้งธนาคารเพื่อการเกษตรและแหล่งกู้เงินอื่นๆ ทั้งแหล่งเงินกู้ในระบบ/นอกระบบ ชาวบ้านจึงไปขอกู้ยืมเงินเพื่อนำมาชำระหนี้แก่สหกรณ์ออมทรัพย์ จำนวนเงินที่กู้ใหม่ก็ต้องมีจำนวนที่มากกว่าที่เคยกู้สหกรณ์ออมทรัพย์ เพราะเงินที่จะต้องชำระหนี้ให้แก่สหกรณ์ออมทรัพย์ คือ เงินต้นพร้อมดอกเบี้ย สมมติเงินต้น 10,000 บาท ดอกเบี้ย 1,000 บาท ชาวบ้านจึงต้องกู้ให้ได้เงินรวมกันอย่างน้อยที่สุด 11,000 บาท
    แต่หลายคนไม่เป็นอย่างนั้น ขอกู้ยืมจำนวนมากๆ เข้าไว้ก่อน เช่น 15,000 บาท เพื่อจะได้นำเงินไปใช้จ่ายอย่างอื่นอีก
    ครั้นถึงกำหนดเวลาชำระหนี้ให้แก่ธนาคารและแหล่งเงินกู้อื่นๆ ชาวบ้านก็ไม่มีเงินชำระหนี้อีกจะทำอย่างไรดี
    เผอิญได้ชำระหนี้แก่สหกรณ์หมดไปแล้ว พวกเขาจึงกลายเป็นลูกหนี้ชั้นดีของสหกรณ์ เพราะมีประวัติการชำระหนี้ดี, ไม่เบี้ยวหนี้, ชำระหนี้ตามกำหนด สหกรณ์จึงให้เครดิตเพิ่มขึ้นอีกโดยให้กู้เงินใหม่ได้ในจำนวนที่มากกว่าเดิม ชาวบ้านจึงกู้เงินใหม่ในจำนวนเงินที่มากกว่าครั้งก่อน แล้วนำเงินไปชำระหนี้แก่ธนาคารและแหล่งเงินกู้ต่าง ๆ
    การกู้หนี้ใหม่จำนวนเพิ่มมากขึ้น แล้วนำไปชำระหนี้เก่า หมุนวนเวียนอยู่อย่างนี้ไปเรื่อยๆ จำนวนเงินที่เป็นหนี้ จึงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และในที่สุดเกินกำลังที่จะชำระหนี้ได้ ทำให้เกิดความทุกข์ เกิดปัญหาต่างๆ มากมาย
    ในการทำวิจัยครั้งนั้น คณะผู้วิจัยได้ทำการทดลองแก้ปัญหาให้กับชาวบ้าน โดยการใช้สมุดบัญชีครัวเรือนแก้ไขปัญหา(หรือก็คือ บัญชีกระแสเงินสดนั่นแหล่ะ) โดยการให้ชาวบ้านจดบันทึกรายได้–รายจ่ายต่างๆ ของครอบครัวในแต่ละวัน เมื่อครบ 1 เดือนก็ให้สรุปรวมรายได้–รายจ่าย แยกเป็นหมวดหมู่รายการต่างๆ แล้วแจ้งให้สมาชิกในครอบครัวทุกคนทราบว่า ครอบครัวมีรายได้อย่างไร จำนวนเท่าใด และมีค่าใช้จ่ายอย่างไร จำนวนเท่าใด ให้ทุกคนได้ทราบ และทำการวิเคราะห์สถานะทางการเงินของครอบครัวว่า มีปัญหาหรือไม่? อย่างไร? มีค่าใช้จ่ายรายการใดบ้างที่สมาชิกคิดว่ามีจำนวนมากเกินความจำเป็น สมาชิกในครอบครัวร่วมกันพิจารณาวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางแก้ไข โดยการหาหนทางเพิ่มรายได้ ส่วนค่าใช้จ่ายที่เกินความจำเป็น สมาชิกในครอบครัวก็จะขอร้องให้คนที่ใช้จ่ายมาก ลดการใช้จ่ายลง โดยมีเจ้าหน้าที่ของคณะวิจัย คอยเป็นพี่เลี้ยงช่วยตรวจสอบสมุดบัญชีครัวเรือน ช่วยวิเคราะห์ปัญหาและให้คำปรึกษาแนะนำแนวทางปฏิบัติเพิ่มเติม
    ผลการทดลองแก้ไขปัญหาให้กับชาวบ้านได้ผลดีระดับหนึ่ง รัฐบาลจึงนำบัญชีครัวเรือนดังกล่าวออกมาเผยแพร่ ให้ประชาชนทั่วไปนำไปใช้แก้ไขปัญหาความยากจน แต่ผมคิดว่าการแก้ปัญหายังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ เพราะคำว่า “เครดิต” ซึ่งเป็นสาเหตุของปัญหา ยังไม่ค่อยมีใครกล่าวถึงและยังไม่ได้รับการแก้ไข

    งานวิจัยข้างต้น มีประโยชน์มาก ฉะนั้นถ้าคุณอยากให้ฐานะการเงินของคุณดีขึ้น คุณควรหลีกเลี่ยงคำว่า ”เครดิต” และควรจัดทำสมุดบันทึกทางการเงิน

    แต่ปัญหามีดังนี้ เมื่อรัฐนำสมุดบัญชีครัวเรือนมาเผยแพร่ หน่วยงานผมก็ทำเลย คือ ไปขอสมุดบัญชีครัวเรือนมาให้ลูกน้องทำ ผลปรากฏล้มเหลว สมุดถูกโยนทิ้ง ไม่แค่นั้นเพื่อนผมเห็นว่าดีก็จัดทำโครงการอบรมเลยโดยใช้สมุดบัญชีครัวเรือนและก็ล้มเหลวเช่นกัน ผมต้องเก็บไปคิดว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น แล้วก็ถึงบางอ้อ ! คนไทยขี้เกียจครับ เพราะสมุดบัญชีครัวเรือนหรือบัญชีกระแสเงินสดนั้น ผู้ทำต้องจดจำรายรับ-รายจ่ายทุกอย่าง ซึ่งเป็นอะไรที่ยุ่งยากมาก โครงการนี้จึงไม่ค่อยได้ผล
    ผมค้นพบว่ายังมีอะไรที่ง่ายกว่านั้น นั่นคือ สมุดงบดุลการเงินนั่นเอง โดยทำในคอมฯ จะได้ไม่เปลืองกระดาษ
    เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทรัพย์สิน/หนี้สิน ผมจะบันทึกการเปลี่ยนแปลงทุกครั้ง แล้วนำมาเปรียบเทียบฐานะความมั่งคั่งเป็นระยะ ทั้งรายเดือน-รายปี และ ………….
    ทำง่ายครับ และพบว่าทรัพย์สินความมั่งคั่งของผมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

    ผมจึงคิดว่าถ้าใครอยากมั่งคั่ง ก็ควรทำสมุดบันทึกทางการเงินอย่างน้อย 1 เล่ม คือ สมุดงบดุลการเงิน เพื่อให้คุณทราบสถานะทางการเงินของคุณตลอดเวลา

    แต่ถ้าคุณคิดว่ายังไม่พอ ยังไหว เอาเลยครับสมุดบัญชีกระแสเงินสด หรือ สมุดบัญชีครัวเรือน ร่วมด้วย
    สำหรับผม อย่างเดียวพอแล้ว

    ประโยชน์ของสมุดบันทึกดังกล่าว จะช่วยให้คุณเข้าใจความเป็นไปเรื่องเงินของคุณ, ช่วยทำให้คุณบังคับตนเองให้ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล และช่วยบังคับคุณให้พยายามหารายได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งทั้งหมดจะช่วยส่งเสริมให้คุณมีหนี้สินน้อยลง หรือ ทำให้คุณมีเงินเก็บสะสม/ทรัพย์สินเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว

    ขอให้ทุกท่านประสบความสำเร็จ
    จะลงทุนอะไรก็คิดให้ดี อย่าเชื่ออะไรง่ายๆ อย่าทำอะไรง่ายๆ อย่าไว้ใจใคร อะไรง่ายๆ แล้วดีไม่มีหรอก
    ของฟรีไม่มีในโลก
    โชคดีครับ

  2. ภาษีเงินได้ในเคสตัวอย่างทำไมมันดูน้อยจังเลยครับ (1.3% ของรายได้) หากเราใช้ opption ลดเต็มที่ มีสิทธิลดได้ถึงขนาดนี้ได้จริง หรือ นี่คือโจทย์ตุ๊กตาครับ 🙂

    • หากใช้สิทธิ์เต็มที่จริงๆ อัตรา 1.3% (หรือต่ำกว่านี้) ก็เป็นไปได้ครับ
      อย่างในโจทย์ข้อนี้ หากมีลดหย่อนพ่อแม่ และ/หรือ
      มีลดหย่อนกรณีบ้านหลังแรก (มีสิทธิ์ประโยชน์นี้พอดีในช่วงที่ทำเนื้อหา)
      การเสียภาษีทั้งปีแค่ 10,000 ก็เป็นไปได้ครับ

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here