หลังเกษียณใช้เงินมากกว่าก่อนเกษียณไหมครับ ?
ในตำราส่วนใหญ่บอกว่าจะลดลงประมาณ 10-20% แต่ผมไม่เห็นด้วย
คิดดูว่าหาหมอก็ต้องจ่ายเอง เวลาว่างเยอะ ก็ต้องหากิจกรรมทำ
แถมยังอยู่บ้านเปิดแอร์ ดูทีวีทั่งวัน ค่าใช้จ่ายมันจะลดลงได้ไง (อย่างดีสุดก็คือเท่าเดิม)
อีกเรืองคือ อัตราเงินเฟ้อ ผมคิด 3% ต่อปีจะมากไปไหมครับ ?
เพราะผมเก็บข้อมูลในอดีต 10 ปีที่ผ่านมา ผมมีค่าใช้จ่ายเพิ่มประมาน 25% เท่านั้น
คำตอบ
ผมเองก็ไม่ค่อยชอบ แนวคิดที่ว่าว่าคนเกษียณจะใช้จ่ายลดลง
เช่นบอกว่าจะใช้จ่ายเพียง 70% ของรายจ่ายเดิม
สาเหตุเพราะคนแต่ละคนต่างกัน คงคิดแบบเหมารวมไม่ได้
ผมแนะนำให้ใช้วิธีการประเมินค่าใช้จ่ายเป็นรายการๆ ไป
โดยจินตนาการว่าถ้าเราเกษียณวันนี้จะใช้อะไรบ้าง ถ้ามีค่ารักษาพยาบาล ค่ากินอยู่เพิ่มพิเศษก็ใส่เข้าไป
(ลองสอบถาม หรือสังเกตจากคนเกษียณยุคนี้ร่วมด้วยก็ได้)
จากนั้นค่อยปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อไปในอนาคตข้างหน้า ว่าจะเป็นเงินประมาณไหนครับ
ส่วนเรื่องเงินเฟ้อนั้น
สถิติในอดีต 10 ปีของไทยอยู่แถวๆ 3-3.5% ก็เลยนิยมใช้ค่านี้เป็นค่าตั้งต้น
แต่จริงๆ แล้ว คนเราบริโภคสิ่งต่างๆ ไม่เหมือนกัน
อัตราเงินเฟ้อส่วนบุคคล (Personal Inflation) จึงต่างกันไปด้วย
ดังนั้น จะใช้ค่าไหนจึงอยู่ที่เราเลือก เพื่อให้สะท้อนความเป็นจริงของเราได้มากที่สุด
บางสำนักก็ชอบที่จะใช้ค่าสูงไว้บ้าง เช่น 4-5%
เพราะมองว่าเป็นการวางแผนแบบ Conservative แต่ก็จะทำให้แผนการเงินยากขึ้น
ผมว่า ประเมินแบบที่สะท้อน “ความเป็นจริงของเรา”
โดยเน้นการจินตนาการไปข้างหน้า (Forward looking) ดีกว่าครับ
คนเราจะใช้เงินมากใช้เงินน้อยมันก็อยู่ที่ใจ
จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว
จิตกำหนดอย่างไร กายก็ทำเช่นนั้น
ตอนที่เรามีเงินน้อยเราก็ใช้เงินน้อย เพราะจิตเรามันบอกว่าต้องใช้เงินน้อยๆ ถึงจะอยู่รอดได้
เมื่อเรามีเงินมากขึ้น จิตมันก็บอกว่าตอนนี้มีเงินมากแล้วก็ใช้เงินมากได้เพื่อขยับสถานะทางสังคมให้สูงขึ้น จะได้มีหน้ามีตา
แต่พอรายได้ลดลง จิตมันก็บอกว่าต้องลดค่าใช้จ่ายลงได้แล้ว
หลังเกษียณคนส่วนใหญ่มักมีรายได้ลดลง จิตมันก็สั่งให้ลดค่าใช้จ่ายลง คนสูงอายุจึงมักใช้จ่ายอย่างประหยัดกว่าสมัยหนุ่มสาว
คนอายุมากค่ารักษาพยาบาลก็มาก เพราะร่างกายเสื่อมโรครุมเร้า
จ่ายค่ารักษาพยาบาลไปเท่าไหร่ เหลือเท่าไหร่ จิตก็มากำหนดให้ใช้จ่ายตามวงเงินที่เหลือ
คนสูงอายุมักลดการสังสรร การเที่ยวเตร่ การแต่งตัว การกินของแพง การซื้อของแพง